บทที่ 1 ความหมาย และวัตถุประสงค์ ของการศึกษาปรัชญา

บทที่ 2 เครื่องมือของ ปรัชญาและ เหตุผล

บทที่ 3 มนุษยภาวะ

บทที่ 4 การตัดสินถูกและผิด

บทที่ 5 ความหมายและ ความจำเป็นของคุณธรรม

บทที่ 6 สังคมอุดมคติ

บทที่ 7
ความรู้ของมนุษย์

บทที่ 8
ปัญหาเรื่องความจริง และสิ่งที่เป็นจริง

บทที่ 9 เพศกับความคิด

บทที่ 10 มาร์กซ์ กับ พระพุทธเจ้า

หมายเหตุ
ไม่ทราบว่าเป็นงานค้นคว้าและวิจัยของผู้ใด หรือสถาบันใด ไม่ทราบแหล่งที่มา และผู้เขียนงานชิ้นนี้ พบโดยบังเอิญ อ่านแล้วเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ แก่ผู้ที่สนใจทางด้านปรัชญา จึงขอนำมาเผยแพร่ต่อ เป็นวิทยาทาน โดยตั้งหัวข้อเรื่องเองตามความเข้าใจ

บทที่ 10 :: มาร์กซ์ กับ พระพุทธเจ้า

แนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx)
มาร์กซ์เสนอว่า สิ่งที่เราเห็นว่า “มีค่า” ในชีวิตนั้น ไม่ได้มาจากการเลือกของเราเอง แต่กลับมาจากระบบเศรษฐกิจที่ครอบงำชีวิตของเราต่างหาก นอกจากนี้ มาร์กซ์ยังเห็นว่าสิ่งที่ทำให้เรามี “ความสุข” นั้นเป็นผลมาจากแนวคิดแบบทุนนิยม (capitalism) ดังนั้น เขาจึงอ้างว่าทุนนิยมกระตุ้นให้แต่ละคนมีมุมมองต่อเป้าหมายของชีวิตที่ต่างกันออกไป มาร์กซ์ยังเชื่อว่าไม่มีใครจะเข้าถึงความสุขแบบทุนนิยมนั้นได้อย่างแท้จริง อีกทั้งทุนนิยมยังทำให้มนุษย์ใช้ชีวิตในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับจิตวิญญาณของมนุษย์ มีประเด็นที่น่าคิดอยู่ว่า หากมาร์กซ์คิดถูก ก็ย่อมส่งผลกระทบสำคัญต่อแนวทางในการดำเนินชีวิต และการกำหนดเป้าหมายของชีวิตสำหรับมนุษย์ทุกคน ตามความคิดของมาร์กซ์ ค่านิยมที่ทุนนิยม “พร่ำสอน” ให้กับมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น การแข่งขัน (competition) ความไม่เท่าเทียม (inequality) ความมั่งคั่งทางวัตถุ (material wealth) ฯลฯ ไม่ได้นำมนุษย์ไปสู่การมี “ความสุข” ได้

นอกจากนี้มาร์กซ์ยังเห็นว่าทุนนิยมทำให้เกิดงานแบบ “แรงงานแปลกแยก” (alienated labor) หรือ “อัญภาวะ” (alienation) ขึ้นมา กล่าวคือ ทุนนิยมทำให้แรงงานกลายเป็นสิ่งแปลกแยกจากผลผลิตที่เกิดขึ้น แปลกแยกจากกระบวนการผลิต แปลกแยกจากธรรมชาติเดิม และแปลกแยกจากคนอื่น ๆ นั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าพึงพอใจและยังผิดไปจากธรรมชาติของมนุษย์อีกด้วย การผลิตในระบบทุนนิยมนั้น ผลผลิตซึ่งเกิดจากแรงงานของชนชั้นกรรมาชีพ ที่จริงแล้วก็คือตัวของเขาองที่อยู่ในสภาพวัตถุ แต่ผลผลิตที่เกิดขึ้นกลับกลายเป็นอื่น คือตกเป็นของนายทุน และ(ผลผลิตนั้น)กลับมามีอำนาจเหนือชนชั้นกรรมาชีพเอง เพราะความสัมพันธ์ระหว่างนายทุนกับชนชั้นกรรมาชีพเป็นไปในลักษณะที่กิจกรรม การผลิตผูกมัดชนชั้นกรรมาชีพให้อยู่ในอำนาจของนายทุน และการผลิตยังเป็นกิจกรรมที่บังคับให้ชนชั้นกรรมาชีพต้องผลิตเพื่อให้ผล ผลิตกลายเป็นของนายทุนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

แนวคิดของพุทธศาสนา
ในขณะที่หลายคนสงสัยว่าเราจำเป็นต้องมีความสุขเพื่อทำให้ชีวิตการทำงานของ เราประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น พุทธศาสนาได้ให้มุมมองอีกด้านหนึ่งเกี่ยวกับเป้าหมายของชีวิตที่น่าจะชัดเจน หรือแน่นอนกว่าแนวคิดของมาร์กซ์ที่เราได้ศึกษามาก่อนหน้านี้

ความแตกต่างบางประการระหว่างความคิดตะวันออกกับความคิดตะวันตก

1. ศาสนาและปรัชญาตะวันออกไม่ได้แยกกันอย่างชัดเจนเหมือนอย่างตะวันตก ดังนั้น นักคิดตะวันออกจึงอยู่ในรูปของศาสดาของศาสนา และแนวคิดตะวันออกก็รวมการค้นหาทางจิตวิญญาณเข้ากับการแสวงหาคำตอบทางปรัชญาไปพร้อมกัน
2. ศาสนาตะวันออกมีแนวคิดเกี่ยวกับพระเจ้าที่ยืดหยุ่นกว่าตะวันตก เพราะไม่ได้ยึดอยู่ที่พระเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ที่สร้างโลกและลิขิตความเป็นไปต่าง ๆ ขณะเดียวกันศาสนาตะวันออกให้ความสำคัญกับพลังจักรวาล โดยเฉพาะศาสนาพุทธนั้นเห็นว่าชีวิตของเราเป็นส่วนหนึ่งของการแสวงหาและการ พัฒนาศักยภาพของจิตวิญญาณเพื่อการรู้แจ้ง(ตรัสรู้)ในอนาคต และเมื่อเราไปถึงจุดนั้นได้ เราก็ไม่จำเป็นต้องกลับไปมีชีวิตอีกต่อไป

คำสอนสำคัญในศาสนาพุทธ
เป้าหมายของชีวิตในศาสนาพุทธนั้นเป็นการยกระดับจิตวิญญาณเพื่อให้พ้นจากวัฏสงสาร (การเวียนว่ายตายเกิด) โดยหลักสำคัญอยู่ในคำสอนเกี่ยวกับ “อริยสัจสี่” และ “มรรคแปด” สัจจะในศาสนาพุทธเริ่มต้นด้วยการยอมรับว่าชีวิตนี้เป็น “ทุกข์” จากนั้นจึงพยายามค้นหาสาเหตุของทุกข์และวิธีการในการดับทุกข์นั้น ๆ

เปรียบเทียบศาสนาพุทธกับแนวคิดตะวันตก
1. ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดระหว่างศาสนาพุทธกับปรัชญาตะวันตก คือ การที่ศาสนาพุทธไม่เน้นที่พระผู้เป็นเจ้าซึ่งสามารถลงโทษหรือลิขิตความเป็นไปในชีวิตของบุคคลใด ๆ
2. ศาสนาพุทธค่อนข้างจะเปิดกว้างกว่าปรัชญาตะวันตก เพราะไม่มีการอ้างว่ามี “ความศรัทธาที่ถูกต้อง” เพียงอย่างเดียว (เปรียบเทียบกับศาสนาคริสต์-คาทอลิก และศาสนาอิสลาม)
3. ปรัชญาตะวันตกเน้นหลักเหตุผล การวิเคราะห์ และข้ออ้างต่าง ๆ แต่ศาสนาพุทธเน้นที่การทำสมาธิ ซึ่งเป็นการฝึกจิตของมนุษย์ให้ค้นหาความจริงของชีวิต
4. ปรัชญาตะวันตกเชื่อว่าแม้ว่าร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปเพียงใด แต่ “ตัวตน” (self) ของมนุษย์ยังคงดำรงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนศาสนาพุทธปฏิเสธหลักการนั้น แล้วเสนอว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนอยู่ภายใต้กฎของการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบของร่างกาย (ขันธ์ห้า = รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ต่างก็มี “กรรม” เป็นเครื่องกำหนดความเป็นไปทั้งสิ้น
5. วัฒนธรรมตะวันตกเน้นสิ่งที่เป็นวัตถุนิยม ปัจเจกนิยม และมุมมองทางโลก รวมถึงความสุขที่ได้มาจากความร่ำรวย อำนาจ การยกย่องเชิดชู และความสำเร็จของส่วนบุคคล แต่ศาสนาพุทธกลับเน้นที่จิตวิญญาณและการเห็นประโยชน์ของผู้อื่นเป็นที่ตั้ง

พุทธศาสนาเสนอว่า มนุษย์ควรใช้ชีวิตด้วยจิตใจที่เปิดกว้าง มีความเวทนาสงสารและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความสุขซึ่งวัฒนธรรมตะวันตกเน้นว่าเกิดขึ้นเมื่อความปรารถนาได้รับการสนองตอบนั้น สำหรับศาสนาพุทธกลับเน้นว่าความสุขเกิดจากการลดความปรารถนา เป้าหมายของชีวิตก็คือ การพัฒนาจิตใจไม่ใช่การยึดติดกับวัตถุ นั่นเอง

Positive Thinking Quotes and Saying