แนวความคิดของ Karen Horney คาร์เรน ฮอร์เนย์ (1885 – 1952) นักจิตวิเคราะห์ คาร์เรน ฮอร์เนย์ ได้อธิบายว่ามนุษย์มีความต้องการดังนี้
- ความต้องการใฝ่สัมพันธ์และการยอมรับยกย่อง ความต้องการที่ไม่แยกแยะ การที่ทำให้ผู้อื่นพอใจและให้เขายอมรับตนเอง (affection and approval)
- ความต้องการคู่ และต้องการให้มีผู้ที่ดูแลคุ้มครองตนเอง ต้องการความรัก (partner)
- ความต้องการจำกัดตนเองในวงแคบ ให้มีคนคอยสั่ง (restrict one's life to narrow borders)
- ความต้องการอำนาจ ที่จะควบคุมผู้อื่น ( need for power, for control over others)
- ความต้องการมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น ( to exploit others and get the better of them)
- ความต้องการการยอมรับทางสังคม ความภาคภูมิใจ (social recognition or prestige)
- ความต้องการได้รับการชื่นชมโดยส่วนตัว ต้องการเป็นคนสำคัญ มีค่า (personal admiration)
- ความต้องการความสำเร็จ ต้องการเป็นที่ 1 (personal achievement.)
- ความต้องการความเป็นอิสระ (self-sufficiency and independence)
- ความต้องการความสมบูรณ์สุด (perfection and unassailability)
เธอเสนอว่ามนุษย์แบ่งออกได้เป็นสามประเภท ตามพื้นฐานของความวิตกกังวลและอาการทางจิตประสาทของมนุษย์ ซึ่งสามารถจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่มดังนี้
- การเข้าหาคน (พวกยอมคน) Compliance ได้แก่ ความต้องการที่ 1 ,2 และ 3
- การพุ่งเข้าใส่คน (พวกก้าวร้าว) Aggression ได้แก่ ความต้องการที่ 4-8
- การหลีกหนีคน (พวกใจลอย) Withdrawal ได้แก่ ความต้องการที่ 9,10 และ 3
ผลงานวิจัยของฮอร์เนย์พบว่า ไทป์ย่อยในกลุ่มต่าง ๆ เช่น
- กลุ่มก้าวร้าว มีคนอยู่สามประเภทคือ
คนหลงตัวเอง
มนุษย์สมบูรณ์แบบ
คนจองหอง
- กลุ่มใจลอย แบ่งกลุ่มย่อย คือ
กลุ่มบุคลิก ชอบถอนตัว
ชอบต่อต้าน
- กลุ่มยอมคน แบ่งย่อยออกเป็น 3 กลุ่มย่อยอีกคือ
พวกรักสนุก
พวกทะยานอยาก
พวกปรับตัว
ผลงานวิจัยของ ฮอร์เนย์ ต้องการปรับปรุงแก้ไขอีก เพราะบุคลิกภาพที่เแบ่งย่อยซ้ำ ซ้อนกันเอง และบางครั้งกลุ่มเดียวกัน ที่อยู่ในระดับเดียวกัน ยังแยกเป็นคนละพวก
Self theory
ฮอร์เนย์ได้อธิบาย Self theory ว่ามีความสำคัญในการที่บุคคลจะมีชีวิตที่ราบรื่น มีความสุข หรือมีความวิตกกังวล นั้นปัจจัยสำคัญคือ การรับรู้ตนเอง
Self หมายถึง สาระหลักที่สำคัญของการมีชีวิต เป็นสาระหลักสำคัญหรือเป็นแก่น ของศักยภาพของบุคคล หากบุคคลอยู่ดีมีสุข ชีวิตมีความสุข บุคคลนั้น จะมี มโนภาพ ความรับรู้และเข้าใจ ว่าเขาเป็นใคร อย่างถูกต้องตรงกับที่เขาเป็นจริง ๆ ก็จะเป็นอิสระใน การตระหนักรู้ เกี่ยวกับ ศักยภาพและความสามารถของตน (self-realization).
คนที่เป็นโรคประสาท (The neurotic) จะรับรู้สิ่งต่าง ๆ แตกต่างออกไป การรับรู้นั้นจะแยกออกระหว่าง despised self และ ideal sel