บทที่ 1 ความหมาย และวัตถุประสงค์ ของการศึกษาปรัชญา

บทที่ 2 เครื่องมือของ ปรัชญาและ เหตุผล

บทที่ 3 มนุษยภาวะ

บทที่ 4 การตัดสินถูกและผิด

บทที่ 5 ความหมายและ ความจำเป็นของคุณธรรม

บทที่ 6 สังคมอุดมคติ

บทที่ 7
ความรู้ของมนุษย์

บทที่ 8
ปัญหาเรื่องความจริง และสิ่งที่เป็นจริง

บทที่ 9 เพศกับความคิด

บทที่ 10 มาร์กซ์ กับ พระพุทธเจ้า

หมายเหตุ
ไม่ทราบว่าเป็นงานค้นคว้าและวิจัยของผู้ใด หรือสถาบันใด ไม่ทราบแหล่งที่มา และผู้เขียนงานชิ้นนี้ พบโดยบังเอิญ อ่านแล้วเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ แก่ผู้ที่สนใจทางด้านปรัชญา จึงขอนำมาเผยแพร่ต่อ เป็นวิทยาทาน โดยตั้งหัวข้อเรื่องเองตามความเข้าใจ


บทที่ 3 :: มนุษยภาวะ

คำถามพื้นฐานมากที่สุดคือ “ฉันคือใคร? ฉันเหมือนหรือแตกต่างจากสิ่งอื่น ๆ ตรงไหนบ้าง?” มนุษย์มักจะปฏิบัติต่อผู้อื่นแตกต่างกัน(จะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม) เรามีกฎหมายและศีลธรรมที่จะกำกับว่าเราจะปฏิบัติต่อบุคคลอื่นอย่างไร แต่กฎเหล่านั้นมิได้ใช้กับแมลง ก้อนหิน ต้นไม้ ฯลฯ การตัดต้นไม้ หรือ การฆ่าผึ้งที่กำลังบินกลับบ้านเป็นการ “ฆาตกรรม” หรือไม่? คนส่วนมากเห็นว่า ไม่ เพราะคิดว่านั่นเป็น แค่ ต้นไม้ หรือ ผึ้ง เราไม่ได้เห็นว่าสิ่งเหล่านั้นเป็น บุคคล เช่นเดียวกับเรา กระนั้นก็ตาม ศาลอเมริกาในสมัยก่อนก็ยังยืนยันแนวคิดที่ว่า ทาส เป็นทรัพย์สิน แต่ไม่ใช่มนุษย์ ลองคิดดูว่า หากยานอวกาศนำสิ่งมีชีวิตที่ฉลาดชนิดหนึ่งมาจากดาวดวงอื่น เราจะเรียกสิ่งมีชีวิตนั้นว่าอะไร? แน่นอนเราคงไม่เรียกว่าเป็น “มนุษย์” เพราะคงมีความแตกต่างทางชีวภาพอย่างมาก เราจึงจำเป็นต้องใช้คำเรียกอื่นคำที่ดีที่สุดก็คือคำว่า “บุคคล” (person)

บุคคล (Person) และ ความเป็นมนุษย์ (Personhood)
บุคคล หมายถึง สิ่งมีชีวิตที่มีความสามารถในการคิด และ มีความสำนึกรู้ในตัวตน ซึ่งสามารถกระทำการต่าง ๆ ตลอดจนสามารถสื่อสารได้ มนุษย์ทุกคนมีความเป็นบุคคล แต่ไม่จำเป็นที่สิ่งที่มีความเป็นบุคคล จะต้องเป็นมนุษย์เสมอไป เราสามารถใช้แผนภาพของเวนน์ (Venn Diagram) เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง มนุษย์ กับ บุคคล ดังต่อไปนี้
“มนุษย์ทุกคนเป็นบุคคล แต่ไม่จำเป็นที่บุคคลจะต้องเป็นมนุษย์เสมอไป”
หากมนุษย์ประสบอุบัติเหตุกระทบกระเทือนสมองอย่างรุนแรง ก็อาจเกิดภาวะสมองตาย (brain dead) ขึ้นมาได้ แม้ผู้ป่วยจะยังมีชีวิต แต่เขายังมีความเป็นบุคคลอยู่หรือไม่? เราไม่สามารถ “ฆ่า” เขา เนื่องจากแม้จะไม่มีสภาพความเป็นบุคคลแล้วก็ตาม แต่ยังเป็นมนุษย์ (มีชีวิต) อยู่ “เป็นมนุษย์ แต่ไม่เป็นบุคคล”

กรณีศึกษาการทำแท้ง (abortion)

ในแง่การทำแท้ง (abortion) เห็นได้ชัดเกี่ยวกับพรมแดนระหว่าง มนุษย์ กับ บุคคล กล่าวคือ

    1. กลุ่มที่เห็นด้วยกับการทำแท้ง เสนอว่าแม้ตัวอ่อนที่อยู่ในครรภ์มารดาจะประกอบด้วยเนื้อเยื่อของมนุษย์ แต่ยังมีพัฒนาการไม่เพียงพอที่จะเรียกว่าเป็นมนุษย์ อาจเรียกว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีแนวโน้มจะเป็นมนุษย์ (a potential human) ไม่มีความสามารถในการสื่อสาร ความรู้สึก และการมีชีวิตอยู่รอดนอกครรภ์มารดา ซึ่งเท่ากับสรุปว่า ตัวอ่อนเป็นสิ่งที่มารดาต้องพึ่งพามารดา ไม่ใช่สิ่งที่มีสิทธิเอกเทศของตน
    2. กลุ่มที่ไม่เห็นด้วยกับการทำแท้ง เสนอว่าการทำแท้งเป็นการ “ฆาตกรรม” เนื่องจากเห็นว่าในเมื่อเราไม่มีทางหาช่วงเวลาที่ชัดเจนได้ว่าเมื่อใดที่ตัวอ่อนเปลี่ยนมาเป็นบุคคลที่มีสิทธิต่าง ๆ ของตน อีกทั้งเรายังไม่แน่ใจด้วยว่าสิ่งที่ “ฆ่า”ลงไปนั้นเป็นบุคคลหรือไม่ แต่ก็เป็นสิ่งที่เราคาดได้ว่า แม้ตัวอ่อนจะไม่เป็นบุคคลในเวลานี้ แต่ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นบุคคล (a potential person) ซึ่งจะกลายเป็นบุคคลจริง ๆ เมื่อคลอดจากครรภ์มารดา ดังนั้น จึงเป็นความผิดอย่างมหันต์(การฆาตกรรม) ที่พยายามยุติสิ่งมีชีวิตที่มีแนวโน้มจะเป็นบุคคล “ตัวอ่อนในครรภ์มารดา เป็นมนุษย์ หรือ เป็นบุคคล”

กรณีศึกษา ET
สำหรับกรณี ET หรือสิ่งมีชีวิตจากนอกโลกนั้น เราไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นมนุษย์ เนื่องจากไม่ใช่สิ่งมีชีวิตในสปีชี Homo Sapiens อย่างมนุษย์เรา แต่ในภาพยนต์ ET เหล่านั้นมีความคิด ภาษาและมีการกระทำที่เป็นอิสระของตนเอง ดังนั้น เราจึงสามารถอธิบายธรรมชาติของ ET ได้ว่าแม้จะไม่เป็นมนุษย์ แต่อย่างน้อยที่สุดก็ยังเป็นบุคคล ดังแผนภูมิต่อไปนี้ “เป็นบุคคล แต่ไม่เป็นมนุษย์”

ความเป็นบุคคล หรือ “มนุษยภาวะ”

  1. มีชีวิต (alive)
  2. มีความตระหนักรู้ (aware)
  3. มีความรู้สึกทั้งด้านบวกและด้านลบ
  4. มีอารมณ์ (emotion)
  5. ควบคุมพฤติกรรมได้ (ตอบสนองได้)
  6. จดจำคนอื่นได้ และปฏิบัติต่อคนอื่นอย่างเหมาะสม
  7. มีความคิดเชิงวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความคิดได้
  8. สามารถเรียนรู้ จดจำ และทบทวนข้อมูลได้
  9. แก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้ด้วยความคิดเชิงวิเคราะห์
  10. มีความสามารถในการสื่อสารให้ตรงตามความคิด

วิธีการทางปรัชญา (Philosophical Method)
การทำงานของนักปรัชญาเริ่มด้วยการหาคำนิยามที่แน่นอนเกี่ยวกับแนวคิดที่เราต้องการศึกษา จากนั้นเราก็ต้องจำแนกให้ว่าแนวคิดดังกล่าวแตกต่างจากแนวคิดอื่นอย่างไร พร้อมกันนั้นก็ต้องจำแนกองค์ประกอบพื้นฐาน (เงื่อนไขที่จำเป็นและเงื่อนไขที่เพียงพอ)

เราจะเห็นได้ว่าคำถามทางปรัชญาไม่มีคำตอบที่ชัดเจน เราจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างข้อเสนอและหลักฐานประกอบ แล้วต้องตัดสินด้วยตัวเราเอง คำตอบที่เราได้นั้นไม่สำคัญเท่ากับวิธีที่การได้มาซึ่งคำตอบนั้น

วิธีการที่เราได้ศึกษาในบทนี้เป็นแนวทางที่เราจะใช้ได้กับโลกของความ “เป็นจริง” ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาประเด็นเกี่ยวกับ ความเป็นบุคคล ความยุติธรรม ความเสมอภาค อำนาจ หรือความรับผิดชอบ ซึ่งเราต้องพยายามสร้างข้อสรุปอย่างมีเหตุผลจากข้อมูลที่เรามีอยู่เพื่อความน่าเชื่อถือของเรา

กรณีศึกษาการทดลองความเป็นบุคคลของปลาโลมา
ปลาโลมาสามารถใช้เป็นตัวแทนของบุคคลได้ เพราะมีสมองขนาดใหญ่ เป็นสัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีสังคมพฤติกรรมของปลาโลมานำไปสู่ความคิดที่ว่า ปลาโลมามีความก้าวหน้าทางชีวภาพ และ “มีสติปัญญา” เมื่อเปรียบเทียบรายการความเป็นบุคคลทั้ง 10 ข้อที่กล่าวมาข้างต้น พบว่า ปลาโลมาปากขวด (bottlenose dolphin) มีความสามารถค่อนข้างดี คือ มีชีวิต มีความตระหนักรู้ มีประสบการณ์ต่อความ รู้สึกทั้งด้านบวกและด้านลบ และดูเหมือนกับว่ามีความรู้สึกด้านอารมณ์ รวมถึงมีพฤติกรรมที่สามารถควบคุมตนเองได้ แต่ยังไม่ชัดเจนนักว่าจะสามารถใช้คำว่า ตอบสนอง กับปลาโลมาได้หรือไม่ แต่เรื่องที่กล่าวว่าปลาโลมาชอบช่วยเหลือคนที่ประสบภัยในทะเล ก็อาจจะเป็นเครื่องแสดงว่าปลาโลมามีการจดจำ และปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ปลาโลมายังดูเหมือนกับว่ามีระบบการสื่อสารที่ซับซ้อน แต่เราไม่แน่ใจว่าจะมีความคิดที่ก้าวหน้ารวมอยู่ในการสื่อสารนั้นด้วยหรือไม่
แม้ว่าปลาโลมาจะมีความแตกต่างจากเราอย่างที่สุดก็ตามแต่ทั้งมนุษย์และปลาโลมาก็มีส่วนร่วมกันในความเป็นบุคคล บางทีปลาโลมาอาจจะเป็นบุคคลเหมือนเราก็ได้ แต่อาจเป็นบุคคลในรูปแบบที่ต่างไปจากเรา หรือแม้แต่เป็นรูปแบบดั้งเดิมที่ต่างไปจากเราก็ได้

Positive Thinking Quotes and Saying